โป๊ป เสด็จทำเนียบฯประทานสุนทรพจน์พร้อมขอพร"พระเจ้า"นำคนไทยในทางแห่งปัญญา-ยุติธรรม-สันติสุข
๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ :: สมเด็จพระสันตะปาปา เสด็จทำเนียบฯ ก่อนเข้าเฝ้า ร.๑๐ ทรงยินดีไทย ผ่านเลือกตั้ง กลับสู่ระบอบปชต. พร้อม เข้าเฝ้าสังฆราช ระบุ ชาวคาทอลิก ในไทยกลุ่มเล็ก แต่หนุนอัตลักษณ์ประเทศ ทรงห่วง ผู้อพยพย้ายถิ่น วอน ประชาสังคมระหว่างประเทศ แก้ปัญหาเคลื่อนย้ายปลอดภัย ขอพรพระเจ้า นำคนไทย ในทางแห่งปัญญา ความยุติธรรม สันติสุข
ที่สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (His Holiness Pope Francis) โดยในพิธีรับเสด็จ นายกรัฐมนตรีได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระสันตะปาปาฯ เสด็จตามพรมแดงไปยังแท่นรับความเคารพ ณ สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า โดยผู้มีเกียรติที่มารับเสด็จ ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีกราบทูลเชิญสมเด็จพระสันตะปาปาฯ เสด็จไปยังห้องสีงาช้างด้านนอก สมเด็จพระสันตะปาปาฯ ทรงลงนามในสมุดเยี่ยม และทอดพระเนตรของที่ระลึกที่ทั้งสองฝ่ายมอบให้แก่กัน และนายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฯ ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
ภายหลังเสร็จสิ้นการเข้าเฝ้า นายกรัฐมนตรีกราบทูลเชิญสมเด็จพระสันตะปาปาฯ ไปยังตึกสันติไมตรีหลังนอก เพื่ออนุญาตให้คณะทูตานุทูต คณะรัฐมนตรี แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าเฝ้ารับเสด็จ โดย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถวายการต้อนรับว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสถวายการต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาฯ ในโอกาสเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในปีนี้ตรงกับวาระครบรอบ ๓๕๐ ปี การจัดตั้งคณะมิสซังคาทอลิกแห่งสยาม และเป็นวาระครบรอบ ๕๐ ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับนครรัฐวาติกัน
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมพระกรณียกิจของสมเด็จพระสันตะปาปาฯ ที่ทรงให้ความสำคัญกับการสร้างความสามัคคี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการส่งเสริมสันติภาพในโลก ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนทุกศาสนา
นายกฯ กล่าวถึงการดำเนินนโยบายของไทยที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งในปี ๒๕๖๒ นี้ ไทยในฐานะประธานอาเซียนได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนและประเทศหุ้นส่วนทุกภูมิภาคส่งเสริมประชาคมอาเซียนให้เป็นสังคมแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ
จากผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๓๕ สมาชิกอาเซียนต่างเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความร่วมมือตามประเด็นที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฯ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาความยากจน การลดช่องว่างด้านการพัฒนา การพัฒนาทุนมนุษย์ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การลดขยะทะเล การพัฒนาพลังงานทดแทน และการอพยพย้ายถิ่นฐานที่เน้นการอำนวยความสะดวก การส่งกลับโดยสมัครใจ ปลอดภัย และมีศักดิ์ศรี จึงเชื่อมั่นว่าไทยและนครรัฐวาติกันจะร่วมมือกันได้อย่างใกล้ชิดทั้งในกรอบทวิภาคีและระหว่างประเทศ
นายกฯ กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าการเสด็จเยือนไทยครั้งนี้ ของสมเด็จพระสันตะปาปาฯ ยังความปลื้มปิติแก่คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยที่มีจำนวนมากกว่า ๓๘๐,๐๐๐ คน และเป็นโอกาสให้ได้เข้าร่วมกิจกรรมและพิธีทางศาสนาที่สมเด็จพระสันตะปาปาฯ จะทรงเป็นประธาน ทั้งนี้ รัฐบาลและชาวไทยพร้อมถวายการต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาฯ และคณะผู้ตามเสด็จอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้การเสด็จเยือนประเทศไทยเป็นไปโดยราบรื่นตามที่มุ่งหมายไว้
จากนั้น สมเด็จพระสันตะปาปา ทรงประทานสุนทรพจน์ ว่า ขอขอบคุณที่ท่านได้ให้โอกาสแก่ข้าพเจ้า ในการที่ได้มาอยู่ท่ามกลางท่านทั้งหลาย ทั้งยังได้ดำเนินการอำนวยความสะดวกแก่ข้าพเจ้าและคณะฯ เพื่อให้ได้มาเยือนผืนแผ่นดินไทย อันอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย และยังเป็นประเทศที่ยังคงรักษามรดกทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรม อันได้แก่ วัฒนธรรมการให้การต้อนรับ ข้าพเจ้าได้ประสบด้วยตัวเอง และปรารถนาที่จะเป็นพยานยันยืนถึงสิ่งนี้ เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างประเทศและประชาชนทั่วโลก
ข้าพเจ้าขอขอบคุณสำหรับการต้อนรับและคำปราศรัยของท่าน ช่วงบ่ายวันนี้ข้าพเจ้าจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ และสมเด็จพระบรมราชินี ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อให้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ เพื่อกล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ทรงเชิญให้ข้าพเจ้ามาเยือนราชอาณาจักรไทย ข้าพเจ้าขอยืนยันอีกครั้งถึงความปรารถนาดีของข้าพเจ้าที่มีต่อราชอาณาจักรและต่อรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และขอแสดงความเคารพอย่างสูงต่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สมเด็จพระสันตะปาปา ทรงประทานสุนทรพจน์ว่า ข้าพเจ้ารู้สึกยินดียิ่งที่ได้มีโอกาสพบปะท่าน ผู้ซึ่งเป็นผู้ปกครองบริหารประเทศ ผู้นำทางศาสนา และสังคม ผ่านทางท่านทั้งหลายนี้ ข้าพเจ้าขออำนวยพรไปยังบรรดาปวงชนชาวไทยทุกคน ขอแสดงความเคารพนับถือ ต่อบรรดาทูตานุทูตทุกท่าน และในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งที่ประเทศได้ผ่านการเลือกตั้ง อันเป็นก้าวสำคัญในการกลับมาสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
เราทั้งหลายทราบดีแล้วว่า ปัญหาของโลกในปัจจุบันเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อทุกส่วนของโลก เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวมนุษยชาติ และเรียกร้องให้มีความตั้งใจจริง ในการที่จะทำให้เกิดความยุติธรรมระหว่างประเทศ และความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างประชาชนทุกหมู่เหล่า ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญยิ่งในการที่ประเทศไทยกำลังจะหมดวาระของการเป็นประธานของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการร่วมแรงร่วมใจ ในการแก้ไขปัญหาที่ประชาชนในภูมิภาคนี้กำลังเผชิญ และยังเป็นหนทางในการที่จะนำไปสู่ความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรม
ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมอันหลากหลาย เป็นประเทศพหุสังคมที่มีความหลากหลายอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นประเทศที่ยอมรับถึงความสำคัญในการสร้างความสามัคคีและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ โดยแสดงความเคารพและยกย่องต่อวัฒนธรรม ศาสนา และความคิดเห็นที่แตกต่าง ปัจจุบันเป็นยุคของโลกาภิวัฒน์ บ่อยครั้งให้ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และการเงิน โดยมองข้ามมิติด้านจิตวิญญาณและความสวยงามในประชาชนของเรา ในทางกลับกัน ประสบการณ์ในการให้ความเคารพและยอมรับความแตกต่าง ได้ให้แรงบันดาลใจและแรงกระตุ้นสำหรับทุกคน ผู้มีความปรารถนาที่จะสร้างโลกที่แตกต่าง เพื่อมอบให้กับชนรุ่นต่อไป
ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจอย่างยิ่งต่อการจัดตั้งคณะกรรมการแห่งศูนย์จริยธรรมและสังคม ซึ่งได้เชิญผู้แทนจากศาสนาต่างๆ ในประเทศเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อรับฟังความคิดเห็นของเขาเหล่านี้ ในการที่จะรักษาความทรงจำทางจิตวิญญาณอันมีชีวิตของประชาชน ในแง่มุมมองนี้ ข้าพเจ้าจะได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อแสดงถึงความสำคัญและความเร่งด่วนในการสร้างมิตรภาพและการเสวนาระหว่างศาสนา อันจะนำมาซึ่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของสังคม และการเสริมสร้างสังคมที่มีความเป็นธรรม รู้จักรับฟัง และไม่มีการแบ่งแยก
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า ชาวคาทอลิกแม้ว่าเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในประเทศ จะพยายามอย่างเต็มความสามารถ ในการที่จะสนับสนุนอัตลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งปรากฏในเพลงชาติของท่าน: "รักสามัคคี...รักสงบ...ไม่ขลาด..." และพวกเขาเหล่านี้ มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะเผชิญหน้ากับทุกสิ่งที่ไม่ปฏิเสธ หรือบ่ายเบี่ยงเสียงเรียกร้องของพี่น้องชายหญิง ที่ปรารถนาจะหลุดพ้นจากความเป็นทาสของความยากจน ความรุนแรง และ ความอยุติธรรม
ผืนแผ่นดินของท่านได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินไทย คือแผ่นดินแห่งอิสรภาพ เราทราบกันดีแล้วว่า อิสรภาพจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราสามารถที่จะเติมเต็มความรับผิดชอบที่เรามีต่อกันและกัน เพื่อเอาชนะความไม่เท่าเทียมทุกรูปแบบ เพราะฉะนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องพยายามให้ประชาชนทุกคน ได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา อาชีพการงาน และความช่วยเหลือด้านสุขภาพ เพื่อที่จะได้สามารถบรรลุถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์และยั่งยืน
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ข้าพเจ้าขอกล่าวสั้นๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของผู้ย้ายถิ่น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ในปัจจุบัน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การอพยพย้ายถิ่นฐาน แต่อยู่ที่สถานการณ์อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอพยพย้ายถิ่น ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านจริยธรรมที่สำคัญยิ่งในยุคสมัยของเรา เราไม่สามารถปฏิเสธวิกฤติการณ์ปัญหาผู้อพยพ วิกฤติการณ์นี้ไม่สามารถมองข้ามได้ ประเทศไทยเองเคยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงว่าเป็นประเทศที่ต้อนรับผู้อพยพ โดยเฉพาะบรรดาผู้ต้องหลบหนีอย่างน่าเศร้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
ข้าพเจ้าขอวิงวอนให้ประชาคมระหว่างประเทศ ดำเนินการด้วยความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาที่ผลักดันให้ประชาชนต้องหลบหนีออกจากประเทศของตน และส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย มีการจัดการ และมีการควบคุม ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกประเทศจะจัดตั้งกลไกที่มีประสิทธิภาพ ในการปกป้องสิทธิและศักดิ์ศรีของบรรดาผู้ย้ายถิ่นและผู้อพยพ ผู้ซึ่งต้องเผชิญภยันตราย ความไม่แน่นอน และการถูกเอารัดเอาเปรียบ ในการที่เขาแสวงหาเสรีภาพและชีวิตที่มีศักดิ์ศรีสำหรับครอบครัวของตน พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงผู้อพยพ หากแต่ยังสะท้อนภาพลักษณ์ของสังคมของเราทุกคนด้วย
เรื่องนี้ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงบรรดาสตรีและเด็กในยุคของเรา ที่ต้องเผชิญกับ ความรุนแรง การถูกเอารัดเอาเปรียบ และการถูกบังคับให้ทำงานเยี่ยงทาสในหลากหลายรูปแบบ
ข้าพเจ้าของชื่นชมรัฐบาลไทย รวมทั้งบุคคลและองค์กรที่ได้ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อแก้ไขปัญหาอันน่าเศร้าใจและเปิดหนทางแห่งการดำเนินชีวิตที่มีศักดิ์ศรีแก่บุคคลเหล่านี้ ปีนี้เป็นปีแห่งการครบรอบ ๓๐ ปี ของ "อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก" ซึ่งเป็นโอกาสดีสำหรับเราในการที่จะไตร่ตรองและดำเนินการด้วยความตั้งใจแน่วแน่ ความพากเพียรพยายาม และความเร่งด่วน เพื่อปกป้องชีวิต พัฒนาการด้านสังคม สติปัญญา โอกาสทางการศึกษา รวมทั้งการเติบโตทางด้านกายภาพ จิตใจ และจิตวิญญาณของบรรดาเยาวชน อนาคตของประชากรของเราขึ้นอยู่กับวิธีการที่เราจะสามารถรับประกันต่อเยาวชนของเราถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีมีศักดิ์ศรีในอนาคต
สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทุกท่าน ปัจจุบันนี้สิ่งที่สังคมของเราต้องการมากกว่ายุคสมัยใดๆ คือ ผู้ส่งเสริมให้เกิดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชายและหญิงที่มีความตั้งใจจริงในการที่จะทำให้เกิดการพัฒนาแบบบูรณาการสำหรับประชากรในครอบครัวมนุษยชาติ ที่จะดำเนินชีวิตในความยุติธรรม ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และความสมัครสมานสามัคคีฉันพี่น้อง ท่านทั้งหลาย ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตน ในการที่จะพยายามให้ผลประโยชน์ร่วมกันไปทั่วถึงทุกหนแห่งของประเทศ นี่คือหนึ่งในภารกิจอันประเสริฐที่บุคคลๆหนึ่งสามารถทำได้ ด้วยความรู้สึกเช่นนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะให้ทุกท่านปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายของตนให้สำเร็จ และข้าพเจ้าวอนขอพระพรอันไพบูลย์จากพระเจ้า สำหรับประเทศ บรรดาผู้นำ และประชาชนชาวไทยทั้งมวล ข้าพเจ้าภาวนาวิงวอนขอให้พระเจ้าทรงนำท่านและครอบครัวของท่าน ในหนทางแห่งปัญญา ความยุติธรรม และสันติสุข
ที่มา :: https://www.komchadluek.net/news/regional/400214?twitter=
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีกราบทูลเชิญสมเด็จพระสันตะปาปาฯ เสด็จไปยังห้องสีงาช้างด้านนอก สมเด็จพระสันตะปาปาฯ ทรงลงนามในสมุดเยี่ยม และทอดพระเนตรของที่ระลึกที่ทั้งสองฝ่ายมอบให้แก่กัน และนายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฯ ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
ภายหลังเสร็จสิ้นการเข้าเฝ้า นายกรัฐมนตรีกราบทูลเชิญสมเด็จพระสันตะปาปาฯ ไปยังตึกสันติไมตรีหลังนอก เพื่ออนุญาตให้คณะทูตานุทูต คณะรัฐมนตรี แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าเฝ้ารับเสด็จ โดย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถวายการต้อนรับว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสถวายการต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาฯ ในโอกาสเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในปีนี้ตรงกับวาระครบรอบ ๓๕๐ ปี การจัดตั้งคณะมิสซังคาทอลิกแห่งสยาม และเป็นวาระครบรอบ ๕๐ ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับนครรัฐวาติกัน
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมพระกรณียกิจของสมเด็จพระสันตะปาปาฯ ที่ทรงให้ความสำคัญกับการสร้างความสามัคคี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการส่งเสริมสันติภาพในโลก ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนทุกศาสนา
นายกฯ กล่าวถึงการดำเนินนโยบายของไทยที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งในปี ๒๕๖๒ นี้ ไทยในฐานะประธานอาเซียนได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนและประเทศหุ้นส่วนทุกภูมิภาคส่งเสริมประชาคมอาเซียนให้เป็นสังคมแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ
จากผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๓๕ สมาชิกอาเซียนต่างเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความร่วมมือตามประเด็นที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฯ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาความยากจน การลดช่องว่างด้านการพัฒนา การพัฒนาทุนมนุษย์ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การลดขยะทะเล การพัฒนาพลังงานทดแทน และการอพยพย้ายถิ่นฐานที่เน้นการอำนวยความสะดวก การส่งกลับโดยสมัครใจ ปลอดภัย และมีศักดิ์ศรี จึงเชื่อมั่นว่าไทยและนครรัฐวาติกันจะร่วมมือกันได้อย่างใกล้ชิดทั้งในกรอบทวิภาคีและระหว่างประเทศ
นายกฯ กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าการเสด็จเยือนไทยครั้งนี้ ของสมเด็จพระสันตะปาปาฯ ยังความปลื้มปิติแก่คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยที่มีจำนวนมากกว่า ๓๘๐,๐๐๐ คน และเป็นโอกาสให้ได้เข้าร่วมกิจกรรมและพิธีทางศาสนาที่สมเด็จพระสันตะปาปาฯ จะทรงเป็นประธาน ทั้งนี้ รัฐบาลและชาวไทยพร้อมถวายการต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาฯ และคณะผู้ตามเสด็จอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้การเสด็จเยือนประเทศไทยเป็นไปโดยราบรื่นตามที่มุ่งหมายไว้
จากนั้น สมเด็จพระสันตะปาปา ทรงประทานสุนทรพจน์ ว่า ขอขอบคุณที่ท่านได้ให้โอกาสแก่ข้าพเจ้า ในการที่ได้มาอยู่ท่ามกลางท่านทั้งหลาย ทั้งยังได้ดำเนินการอำนวยความสะดวกแก่ข้าพเจ้าและคณะฯ เพื่อให้ได้มาเยือนผืนแผ่นดินไทย อันอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย และยังเป็นประเทศที่ยังคงรักษามรดกทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรม อันได้แก่ วัฒนธรรมการให้การต้อนรับ ข้าพเจ้าได้ประสบด้วยตัวเอง และปรารถนาที่จะเป็นพยานยันยืนถึงสิ่งนี้ เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างประเทศและประชาชนทั่วโลก
ข้าพเจ้าขอขอบคุณสำหรับการต้อนรับและคำปราศรัยของท่าน ช่วงบ่ายวันนี้ข้าพเจ้าจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ และสมเด็จพระบรมราชินี ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อให้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ เพื่อกล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ทรงเชิญให้ข้าพเจ้ามาเยือนราชอาณาจักรไทย ข้าพเจ้าขอยืนยันอีกครั้งถึงความปรารถนาดีของข้าพเจ้าที่มีต่อราชอาณาจักรและต่อรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และขอแสดงความเคารพอย่างสูงต่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เราทั้งหลายทราบดีแล้วว่า ปัญหาของโลกในปัจจุบันเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อทุกส่วนของโลก เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวมนุษยชาติ และเรียกร้องให้มีความตั้งใจจริง ในการที่จะทำให้เกิดความยุติธรรมระหว่างประเทศ และความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างประชาชนทุกหมู่เหล่า ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญยิ่งในการที่ประเทศไทยกำลังจะหมดวาระของการเป็นประธานของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการร่วมแรงร่วมใจ ในการแก้ไขปัญหาที่ประชาชนในภูมิภาคนี้กำลังเผชิญ และยังเป็นหนทางในการที่จะนำไปสู่ความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรม
ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมอันหลากหลาย เป็นประเทศพหุสังคมที่มีความหลากหลายอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นประเทศที่ยอมรับถึงความสำคัญในการสร้างความสามัคคีและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ โดยแสดงความเคารพและยกย่องต่อวัฒนธรรม ศาสนา และความคิดเห็นที่แตกต่าง ปัจจุบันเป็นยุคของโลกาภิวัฒน์ บ่อยครั้งให้ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และการเงิน โดยมองข้ามมิติด้านจิตวิญญาณและความสวยงามในประชาชนของเรา ในทางกลับกัน ประสบการณ์ในการให้ความเคารพและยอมรับความแตกต่าง ได้ให้แรงบันดาลใจและแรงกระตุ้นสำหรับทุกคน ผู้มีความปรารถนาที่จะสร้างโลกที่แตกต่าง เพื่อมอบให้กับชนรุ่นต่อไป
ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจอย่างยิ่งต่อการจัดตั้งคณะกรรมการแห่งศูนย์จริยธรรมและสังคม ซึ่งได้เชิญผู้แทนจากศาสนาต่างๆ ในประเทศเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อรับฟังความคิดเห็นของเขาเหล่านี้ ในการที่จะรักษาความทรงจำทางจิตวิญญาณอันมีชีวิตของประชาชน ในแง่มุมมองนี้ ข้าพเจ้าจะได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อแสดงถึงความสำคัญและความเร่งด่วนในการสร้างมิตรภาพและการเสวนาระหว่างศาสนา อันจะนำมาซึ่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของสังคม และการเสริมสร้างสังคมที่มีความเป็นธรรม รู้จักรับฟัง และไม่มีการแบ่งแยก
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า ชาวคาทอลิกแม้ว่าเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในประเทศ จะพยายามอย่างเต็มความสามารถ ในการที่จะสนับสนุนอัตลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งปรากฏในเพลงชาติของท่าน: "รักสามัคคี...รักสงบ...ไม่ขลาด..." และพวกเขาเหล่านี้ มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะเผชิญหน้ากับทุกสิ่งที่ไม่ปฏิเสธ หรือบ่ายเบี่ยงเสียงเรียกร้องของพี่น้องชายหญิง ที่ปรารถนาจะหลุดพ้นจากความเป็นทาสของความยากจน ความรุนแรง และ ความอยุติธรรม
ผืนแผ่นดินของท่านได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินไทย คือแผ่นดินแห่งอิสรภาพ เราทราบกันดีแล้วว่า อิสรภาพจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราสามารถที่จะเติมเต็มความรับผิดชอบที่เรามีต่อกันและกัน เพื่อเอาชนะความไม่เท่าเทียมทุกรูปแบบ เพราะฉะนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องพยายามให้ประชาชนทุกคน ได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา อาชีพการงาน และความช่วยเหลือด้านสุขภาพ เพื่อที่จะได้สามารถบรรลุถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์และยั่งยืน
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ข้าพเจ้าขอกล่าวสั้นๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของผู้ย้ายถิ่น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ในปัจจุบัน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การอพยพย้ายถิ่นฐาน แต่อยู่ที่สถานการณ์อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอพยพย้ายถิ่น ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านจริยธรรมที่สำคัญยิ่งในยุคสมัยของเรา เราไม่สามารถปฏิเสธวิกฤติการณ์ปัญหาผู้อพยพ วิกฤติการณ์นี้ไม่สามารถมองข้ามได้ ประเทศไทยเองเคยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงว่าเป็นประเทศที่ต้อนรับผู้อพยพ โดยเฉพาะบรรดาผู้ต้องหลบหนีอย่างน่าเศร้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
ข้าพเจ้าขอวิงวอนให้ประชาคมระหว่างประเทศ ดำเนินการด้วยความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาที่ผลักดันให้ประชาชนต้องหลบหนีออกจากประเทศของตน และส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย มีการจัดการ และมีการควบคุม ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกประเทศจะจัดตั้งกลไกที่มีประสิทธิภาพ ในการปกป้องสิทธิและศักดิ์ศรีของบรรดาผู้ย้ายถิ่นและผู้อพยพ ผู้ซึ่งต้องเผชิญภยันตราย ความไม่แน่นอน และการถูกเอารัดเอาเปรียบ ในการที่เขาแสวงหาเสรีภาพและชีวิตที่มีศักดิ์ศรีสำหรับครอบครัวของตน พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงผู้อพยพ หากแต่ยังสะท้อนภาพลักษณ์ของสังคมของเราทุกคนด้วย
เรื่องนี้ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงบรรดาสตรีและเด็กในยุคของเรา ที่ต้องเผชิญกับ ความรุนแรง การถูกเอารัดเอาเปรียบ และการถูกบังคับให้ทำงานเยี่ยงทาสในหลากหลายรูปแบบ
ข้าพเจ้าของชื่นชมรัฐบาลไทย รวมทั้งบุคคลและองค์กรที่ได้ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อแก้ไขปัญหาอันน่าเศร้าใจและเปิดหนทางแห่งการดำเนินชีวิตที่มีศักดิ์ศรีแก่บุคคลเหล่านี้ ปีนี้เป็นปีแห่งการครบรอบ ๓๐ ปี ของ "อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก" ซึ่งเป็นโอกาสดีสำหรับเราในการที่จะไตร่ตรองและดำเนินการด้วยความตั้งใจแน่วแน่ ความพากเพียรพยายาม และความเร่งด่วน เพื่อปกป้องชีวิต พัฒนาการด้านสังคม สติปัญญา โอกาสทางการศึกษา รวมทั้งการเติบโตทางด้านกายภาพ จิตใจ และจิตวิญญาณของบรรดาเยาวชน อนาคตของประชากรของเราขึ้นอยู่กับวิธีการที่เราจะสามารถรับประกันต่อเยาวชนของเราถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีมีศักดิ์ศรีในอนาคต
สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทุกท่าน ปัจจุบันนี้สิ่งที่สังคมของเราต้องการมากกว่ายุคสมัยใดๆ คือ ผู้ส่งเสริมให้เกิดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชายและหญิงที่มีความตั้งใจจริงในการที่จะทำให้เกิดการพัฒนาแบบบูรณาการสำหรับประชากรในครอบครัวมนุษยชาติ ที่จะดำเนินชีวิตในความยุติธรรม ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และความสมัครสมานสามัคคีฉันพี่น้อง ท่านทั้งหลาย ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตน ในการที่จะพยายามให้ผลประโยชน์ร่วมกันไปทั่วถึงทุกหนแห่งของประเทศ นี่คือหนึ่งในภารกิจอันประเสริฐที่บุคคลๆหนึ่งสามารถทำได้ ด้วยความรู้สึกเช่นนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะให้ทุกท่านปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายของตนให้สำเร็จ และข้าพเจ้าวอนขอพระพรอันไพบูลย์จากพระเจ้า สำหรับประเทศ บรรดาผู้นำ และประชาชนชาวไทยทั้งมวล ข้าพเจ้าภาวนาวิงวอนขอให้พระเจ้าทรงนำท่านและครอบครัวของท่าน ในหนทางแห่งปัญญา ความยุติธรรม และสันติสุข
ที่มา :: https://www.komchadluek.net/news/regional/400214?twitter=
ไม่มีความคิดเห็น