งานเลี้ยงต้อนรับคณะชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว (ช.ส.ท.) ในวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2567 เวลา 18.00 น. ณ โรงแรมเมอร์เคียว เกาะช้าง ไฮด์อเวย์ จังหวัดตราด
นางวรางคณา สุเมธวัน ประธานชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว (ช.ส.ท.) ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมนำคณะสื่อมวลชน 35 คน และสมาชิกวัยเก๋าของ ช.ส.ท. 45 คน รวมทั้งสิ้น 80 คน เดินทางทัศนศึกษาภาคตะวันออก 3 จังหวัด คือ ระยอง จันทบุรีและตราด ระหว่างวันที่ 9 - 12 พฤษภาคม 2567
เพื่อเป็นศึกษาข้อมูลในการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ข่าวสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดในภาคตะวันออกให้กว้างขวางมากขึ้น พร้อมจะได้นำข้อมูลการท่องเที่ยวไปเผยแพร่ประสัมพันธ์ในทุกสื่อให้กว้างขวางมากขึ้น โดยในวันนี้ (11 พ.ค.67) ได้รับเกียรติอย่างยิ่งจากคณะผู้บริหารและภาคธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดตราด นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดตราด (นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร) คณะผู้บริหาร ททท. ประกอบด้วยผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออก ททท. ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานตราด คณะผู้บริหารองค์กรเอกชน-ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดตราด นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดตราด และสื่อมวลชนท้องถิ่น มาต้อนรับในงานเลี้ยงที่โรงแรมเมอร์เคียว เกาะช้าง ไฮด์อเวย์ อย่างอบอุ่นเป็นกันเอง
นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวว่า แผนพัฒนาจังหวัดตราด พ.ศ. 2566 - 2570 กำหนดเป้าหมายการพัฒนาว่า "เมืองท่องเที่ยว การเกษตร เศรษฐกิจสังคมตราดมีคุณภาพคุณธรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" โดยขับเคลื่อนผ่านประเด็นการพัฒนา 5 ด้าน คือ ด้านการท่องเที่ยว ด้านการเกษตร ด้านการค้าและการค้าชายแดน ด้านสังคม และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลักดันเมืองท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างมีระบบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดตราดให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน
จังหวัดตราดเน้นการท่องเที่ยวที่สะอาดปลอดภัย เป็นจังหวัดที่ติดชายทะเลหมู่เกาะในภาคตะวันออกของประเทศไทย ตราดเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่) เมือง Low Carbon มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้งทางบกและทางทะเล เหมาะแก่การท่องเที่ยว ทั้งชายทะเลบนฝั่งและพื้นที่หมู่เกาะน้อยใหญ่ หาดทรายสวย-ชายทะเลสะอาดใส ผืนทรายขาวนวลเนียน นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วิถีท่องเที่ยวชุมชน เกษตร สุขภาพ อาหารพื้นถิ่น อาหารทะเลสดใหม่ และผลไม้นานาชนิด ตลอดจนการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสและใช้วิถีชีวิตแบบชาวตราด ประกอบกับจังหวัดตราดมีศักยภาพด้าน Wellness Tourism เป็นอย่างดี การท่องเที่ยวชุมชน ร้านอาหาร โรงแรม หรือแม้แต่ธุรกิจสปา นวดไทย นวดสมุนไพร จึงเป็นสิ่งที่ดีในการต่อยอดสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง ท่องเที่ยวตราดเมืองน่ารัก ขยายวันพักเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะวันธรรมดาตราดน่าเที่ยว สามารถสร้างเม็ดเงินให้กับภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดได้อีกช่องทางหนึ่ง ปัจจุบันการท่องเที่ยวจังหวัดตราดคึกคัก
ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ขอฝากประชาสัมพันธ์การจัดงาน “วันระกำหวาน ผลไม้ และของดีเมืองตราด ประจำปี 2567” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 -22 พฤษภาคม 2567 บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดตราด เป็นงานเทศกาลผลไม้ประจำปีที่ขึ้นชื่อของจังหวัดตราด มายาวนาน ในงานปีนี้จะมีกิจกรรมมากมาย ได้แก่ การประกวดผลไม้ ประกอบด้วย ระกำหวาน ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เงาะพันธุ์โรงเรียน มังคุดผิวมัน มังคุดผิวลาย และสับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง การจัดบุฟเฟ่ต์ผลไม้ 3 ชนิด คือ เงาะ มังคุด และทุเรียน ชนิดละ 2 ตันให้ผู้ร่วมงานได้ชิมฟรี กิจกรรมส่งเสริมทางด้านการตลาดให้กับเกษตรกรชาวสวนผลไม้ และผู้ผลิตสินค้าชุมชน และท้องถิ่นของจังหวัดตราด การส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดตราด นิทรรศการด้านการเกษตรหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การจำหน่ายผลไม้คุณภาพ พืชผักปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ราคาประหยัด การประกวดผลไม้ การประกวดธิดาระกำหวาน การประกวดสุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน การแข่งขันประกอบอาหาร แข่งขันตำส้มตำลีลา การจัดมุมชิมผลไม้ฟรี กิจกรรมปั่นจักรยานแรลลี่ท่องเที่ยวสวนเกษตร การออกร้านสินค้าราคาถูก นอกจากนี้ยังมี การประกวดอาหารคาวหวานจากสับปะรดตราดสีทอง กิจกรรมตอบคำถามด้านปศุสัตว์ การแข่งขันตำส้มตำผลไม้ลีลา กิจกรรมปั่นจักรยานแรลลี่ท่องเที่ยวสวนเกษตร การประกวดสุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน เรียกว่าเป็นงานประจำสุดยิ่งใหญ่อีกงานของจังหวัดตราด ที่ต้องวางแผนจัดโปรแกรมไปเยี่ยมชมให้ได้อีกงาน
นายสมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก ได้กระตุ้นและส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวสู่ภาคตะวันออก กับ สโลแกน “คัลเลอร์ฟูลบูรพา : สีสันตะวันออก กับ (1.) ยืนหนึ่งเรื่องกิน (2.) สุดฟินเรื่องเที่ยว (3.) เต็มเหนี่ยวสายศรัทธา(มู) (4.) เรียนรู้เรื่องรักษ์” เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวในภาพรวมของภูมิภาคภาคตะวันออก ปี 2567สู่ ปี 2568 สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของชาติ “ททท.เป็นผู้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย ในการสร้างประสบการณ์ทรงคุณค่าและมุ่งสู่ความยั่งยืน“ ซึ่งในปี 2567 ททท.ยังใช้แนวคิดการเสิร์ฟเมนูประสบการณ์ท่องเที่ยว “สุขทันทีที่เที่ยวภาคตะวันออก” เพิ่มความสุขแบบไร้ขีดจำกัด ด้วยการเพิ่มกลยุทธ์ 3 ด้าน คือ
โดยการเพิ่มความถี่และจำนวนนักท่องเที่ยว ให้กระจายตัวของนักท่องเที่ยวทั้งช่วงเวลาและพื้นที่ ทำให้ภาคตะวันออกมีความรู้สึกว่า ”เที่ยวง่าย เที่ยวใกล้ เที่ยวได้สะดวก-สบาย สมกับคำว่า สีสันตะวันออก” ออกแบบให้แต่ละจังหวัดมี จุดขายที่ต่างกัน เที่ยวภาคตะวันออกแล้วได้สัมผัสกับความสนุกๆและมีความสุขเที่ยวได้ตลอด365วัน
2.ขยายวันพักค้าง
โดย เพิ่มกิจกรรมทำให้เกิดการพักค้าง เปลี่ยนจุดแข็งให้เป็นจุดขาย สร้างจุดขายพิเศษเพื่อเสนอขายขยายวันพักค้างให้มากขึ้นในหลายๆมิติ เน้นสุขภาพและปลอดภัย
3.ใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
โดย เพิ่มจุดขายใหม่ๆเจาะกลุ่มตลาดไฮเอนด์ ( High-End Market ) ค้นหาสินค้าท่องเที่ยวและบริการใหม่ๆที่เกิดขึ้นทุกๆปีมานำเสนอ(เพราะสินค้า+จุดขายใหม่ไม่มีใครต่อ(ราคา)) Soft Power และสินค้าท่องเที่ยวชุมชนศึกษาเรียนรู้ประสบการณ์ STG ท่องเที่ยวอย่างรู้คุณค่าใส่ใจสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน เช่น นำเสนอจุดขายใหม่ มุมลับตะวันออก และ ทะเลหวานตะวันออก เป็นต้น
ในวันนี้ ทุกภาคส่วนในจังหวัดตราดให้ความสำคัญเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ททท.ได้รับการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว (ช.ส.ท.) ร่วมจัดกิจกรรมนำเที่ยวนำสื่อมวลชน 30 กว่าท่าน และสมาชิกชมรมสื่อมวลชนเพื่อการท่องเที่ยว รวม 80 ท่าน เดินทางมาท่องเที่ยวภาคตะวันออกนับตั้งแต่จังหวัดจันทบุรีมาจนถึงจังหวัดตราด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดตราด เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยวและชุมชนท่องเที่ยวท้องถิ่น รวมไปถึงด้านความปลอดภัย จังหวัดตราดได้เตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวดุจยังญาติมิตร โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือ Wellness Tourism ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกต่อไป
นายพรชัย เขมะพรรค์พงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดตราด กล่าวว่าคณะกรรมการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตราด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราด สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดตราด สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด ได้ดำเนินการจัดเวทีชี้แจงให้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวจังหวัดตราด ให้ทราบถึงเทรนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความปลอดภัย และดำเนินการตรวจประเมินสถานประกอบการที่มีความประสงค์เข้ารับการประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ TRAT WELLNESS AND SAFETY TOURISM (TSWT) เป็นมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดตราด ที่คำนึงถึงสุขภาพที่ดี และความปลอดภัยควบคู่กัน เพื่อเป็นการขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดตราด ในอีก 1 มิติ จังหวัดตราดจะก้าวสู่การเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความปลอดภัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยผ่านการขับเคลื่อนโดย Soft Power ของจังหวัดตราด ดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวศักยภาพสูงให้เดินทางเข้ามาในจังหวัดตราดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีสถานประกอบการที่ผ่านมาตรฐาน จำนวน 46 ราย
จากข้อมูลสถิติของ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า จังหวัดตราดมีรายได้จากท่องเที่ยวในปี 2566 มากถึง 19.7 ล้านบาท ซึ่งการเปิดตัวการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดในอีก 1 มิติ ที่เป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความปลอดภัย จะทำให้จังหวัดตราดสามารถดึงเอานักท่องเที่ยวสายรักสุขภาพมาเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดอีกทางนึง โดยชูจุดแข็ง และจุดขาย Soft Power ของจังหวัดตราด ได้แก่
- วิถีบำบัดด้วยแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ (Nature Therapy, Waterfall Bath Therapy, Forest Bath Therapy) กิจกรรมทางน้ำพายซัพ คายัค ดำน้ำ เดินป่า ก็เป็นการบำบัดร่างกาย จิตใจ (Mind - body & Soul Therapy) ด้วยการสัมผัสกับสุขภาพ
- อาหาร อาหารถิ่น ผลไม้ GI ทุเรียนชะนีเกาะช้าง สับปะรดตราดสีทอง ปลาย่ำสวาท การทำความสะอาดร่างกายด้วยอาหาร (Detoxification Therapy) อาหารเป็นยา (Food Therapy)
- การท่องเที่ยวชุมชน (Friendship from Community) การเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ที่จะสร้างความประทับใจและเกิดมิตรภาพที่ดี และเกิดการบอกต่อเรื่องราวต่าง ๆ สู่โลกออนไลน์
- การผ่อนคลายด้วยการนวดไทย นวดสปา นวดอโรมา หินร้อน หรือ Hydro Pool (Wellness – Retreat - Recharge Therapy)
รวมไปถึงการใช้บริการจาก โรงแรมที่พัก รีสอร์ท ร้านอาหาร สถานบริการนวด นวดสปา เป็นต้น
ว่าที่ ร.ต.กรกฏ โอภาส ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานตราด ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ททท.สำนักงานตราดมีโปรโมชั่นส่งเสริมการขายหลากหลายกิจกรรมรอต้อนรับนักท่องเที่ยว "สุขทันทีที่เที่ยวจังหวัดตราด" โดยช่วงนี้ ททท. ตราดตั้งใจชูจุดขายความอุดมสมบูรณ์ของ Soft Power "F-Food" อาหารการกินถิ่นเมืองตราด “Colorful Burapha” สีสันตะวันออก โดยปลุกกระแส “ยืนหนึ่งเรื่องกิน” ดึงไฮไลต์ฤดูกาลผลไม้ ด้วยกิจกรรมอร่อยทุกไร่ชิมไปทุกสวน " มีเป้าหมายให้นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบอาหารและผลไม้ รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่มีไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวสวนผลไม้ เที่ยวสายกินเมนูลับ ชิมอาหารถิ่น อาหารแปลก ชื่นชอบสำรวจย่านเมืองเก่า ถนนคนเดิน ได้ออกค้นหาเสน่ห์ของแหล่งกำเนิดอาหารและวัตถุดิบในจังหวัดตราด ที่โดดเด่นด้วยรสชาติความสดอร่อยจากต้น เพิ่มแรงส่งทางการท่องเที่ยวต้อนรับฤดูกาลผลไม้ของภูมิภาคในเดือนพฤษภาคมของทุกปีสายกินห้ามพลาดกับแคมเปญ #อร่อยทันทีที่เที่ยวตราด เสนอเหล่าผลไม้ที่เป็นสินค้า GI ของจังหวัดตราด ทุเรียนสายพันธุ์ชะนีเกาะช้าง ระกำหวาน เงาะ มังคุด สัปปะรดตราดสีทอง และน้องใหม่ “ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจ.ตราด ต่อจากสินค้าสับปะรดตราดสีทอง และทุเรียนชะนีเกาะช้าง พร้อมโปรโมชันพิเศษจาก ททท. สำนักงานตราด แพ็กเกจทัวร์ 16 สวนผลไม้ตราด และบุฟเฟ่ต์เมืองตราด อร่อยสะหงาด ได้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2567 ผนวกแคมเปญเที่ยวฟินบินตราด หนีร้อนไปนอนทะเล ทะเลสวย น้ำใส อาหารทะเลสุดว้าว สัมผัสเสน่ห์วิถีชุมชน ช้อปชิมผลไม้ฉ่ำๆ รับส่วนลด 300 บาท/Booking เพียงกรอกรหัสส่วนลด TATTDX300 เมื่อซื้อบัตรโดยสารเครื่องบิน Bangkok Airways เส้นทางเข้าหรือออก กรุงเทพฯ – ตราด โดยสามารถจองและใช้โค้ดส่วนลดตั๋วเครื่องบินได้ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2567
ไม่มีความคิดเห็น