ความเคลื่อนไหวในไทยแลนด์ ยุค 4.00

ความเคลื่อนไหวในไทยแลนด์ ยุค 4.00

ไขปัญหาแผลเป็นคีลอยด์

แผลที่หายดีแล้วมักจะทิ้งร่องรอยแผลเป็นสร้างตำหนิบนผิวหนัง ทำให้ผิวไม่เรียบเนียนสวยงาม โดยเฉพาะรอยแผลเป็นนูน หรือที่เรียกกันว่า คีลอยด์ (Keloid) หากเกิดในจุดที่สังเกตได้ง่ายอาจส่งผลต่อความมั่นใจต้องคอยปกปิด นอกจากนี้แล้วรอยแผลเป็นบางชนิดยังมีอาการคันหรือระคายเคือง จนก่อให้เกิดความรำคาญได้อีกด้วย แผลเป็นคีลอยด์ มีลักษณะอย่างไร

คีลอยด์ คือแผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะนูนเงาและขยายใหญ่กว่าแผลเป็นที่เกิดขึ้น ในช่วงแรกๆ จะปรากฏเป็นสีแดงแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือซีดลง สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักขึ้นตามหน้าอก หัวไหล่ หลัง ลำคอ และติ่งหู ซึ่งแผลเป็นคีลอยด์อาจจะคงอยู่เป็นเวลาหลายปี

แผลเป็นคีลอยด์เกิดจากอะไร
แผลเป็นคีลอยด์เกิดจากความผิดปกติของแผลที่หายตามธรรมชาติของร่างกาย ที่ผิวหนังมีการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหายมากเกินไป แผลเป็นคีลอยด์จะแตกต่างจากแผลเป็นทั่วไป ตรงที่แผลเป็นส่วนใหญ่จะค่อยๆ จางหายได้เองตามธรรมชาติ แต่แผลเป็นคีลอยด์จะค่อยๆ ขยายใหญ่และนูนขึ้นกว่าแผลเดิม มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 10 – 30 ปี อาจมีแนวโน้มจากพันธุกรรม หรือมีสมาชิกในครอบครัวที่เคยเป็นคีลอยด์

การวินิจฉัยแผลเป็นคีลอยด์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังจะตรวจดูลักษณะความผิดปกติที่เกิดขึ้นด้วยตาเปล่า เพื่อแยกอาการของคีลอยด์ ในบางครั้งแพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจดูความแตกต่างด้วยกล้องจุลทัศน์ ซึ่งหากเป็นคีลอยด์จะมีลักษณะของเซลล์ที่จำเพาะกว่าแผลเป็นทั่วไป

การรักษาแผลเป็นคีลอยด์
1. การทายา
2. การฉีดยา
3. การผ่าตัด
4. การยิงเลเซอร์

อย่างไรก็ตาม การรักษาแผลเป็นคีลอยด์จะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา ควรเข้ารับบริการกับโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนัง เพื่อวินิจฉัยให้การรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม และได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ


นพ. สิริวัฒน์ ภัทรากาญจน์ 
แพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง

ไม่มีความคิดเห็น

รูปภาพธีมโดย graphixel. ขับเคลื่อนโดย Blogger.