ความเคลื่อนไหวในไทยแลนด์ ยุค 4.00

ความเคลื่อนไหวในไทยแลนด์ ยุค 4.00

สองผู้บริหาร วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก ชื่นชมความสำเร็จของอดีตแชมป์สู่ดาวดังประดับวงการ

3 พฤศจิกายน 2556 – มาร์ติน สลัมเบอร์ส ประธานบริหารของอาร์แอนด์เอ (องค์กรกำกับดูแลกีฬากอล์ฟระหว่างประเทศ) พร้อมด้วย ไทมูร์ ฮัสซัน อามิน ประธานสหพันธ์กอล์ฟเอเชีย-แปซิฟิก สองผู้บริหารใหญ่ ในฐานะผู้จัดการแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นหญิงรายการ “วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก” แถลงข่าวยอมรับพอใจกับความสำเร็จในการจัดการแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นหญิง วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก แม้ปีนี้จะเป็นการจัดแข่งขันครั้งที่ 4 แต่ก็ได้สร้าง 3 นักกอล์ฟดาวดังมาประดับวงการ ไม่ว่าจะเป็น โปรจีน-อาฒยา ฐิติกุล มือหนึ่งของโลกคนล่าสุด เจ้าของแชมป์ ดับเบิ้ลยูเอเอพี เมื่อปี 2018 รวมถึง 2 แชมป์เมเจอร์อย่าง โปรเหมียว-ปภังกร ธวัชธนกิจ และ ยูกะ ซาโซะ แชมป์ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจที่ดีสำหรับนักกอล์ฟรุ่นใหม่ที่กำลังจะก้าวขึ้นมากับการแข่งขันที่สนามสยาม คันทรี คลับ วอเตอร์ไซด์ พัทยา ระหว่างวันที่ 3-6 พฤศจิกายนี้

โดยงานแถลงข่าวจัดขึ้น ณ คลับเฮาส์ ภายในสนามสยามคันทรีคลับ วอเตอร์ไซด์ พัทยา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2565 โดย มาร์ติน สลัมเบอร์ส ประธานบริหารอาร์แอนด์เอ เผยว่า "ไม่น่าเชื่อว่าจากการเริ่มต้นการแข่งขัน วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก ด้วยระยะเวลาอันสั้นเพียง 4 ปี มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นในวงการกอล์ฟสตรี และรายการแข่งขันนี้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดแบบไม่น่าเชื่อ  และเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่แชมป์คนแรกของรายการนี้อย่าง อาฒยา ฐิติกุล สร้างประวัติศาสตร์ขึ้นเป็นนักกอล์ฟหญิงมืออันดับหนึ่งของโลกได้สำเร็จในสัปดาห์นี้ นับเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของเธอ ซึ่งเราทุกคนควรภูมิใจ เพราะนอกจากจะนำความภาคภูมิใจมาสู่ประเทศแล้ว ยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักกอล์ฟสตรีรุ่นหลังๆ ได้มีโอกาสตามรอยรุ่นพี่ หากมองย้อนไปถึงความสำเร็จในอดีตของรายการแข่งขันนี้ เรายังมี  ยูกะ ซาโสะ ที่เคยคว้าแชมป์รายการ ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น และ ปภังกร ธวัชธนกิจ ที่ชนะรายการ เอเอ็นเอ อินสไปเรชั่น ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงริเริ่มรายการแข่งขัน วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก นี้ และสามารถสร้างความสำเร็จ และป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักกอล์ฟสตรีชั้นนำ”

มร. มาร์ติน สลัมเบอร์ กล่าวต่ออีกว่า “ผมคิดว่าแนวคิดของการจัดการแข่งขันวีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก คือการส่งเสริมสถานภาพของนักกอล์ฟสตรีและเด็กผู้หญิง ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักที่อาร์แอนด์เอ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในช่วง 5 ที่ผ่านมา และเรามุ่งมั่นจะพัฒนารายการแข่งขันนี้ในอีก  5 ปีข้างหน้า รายละเอียดของการจัดการแข่งขันอยู่ในเวบไซด์ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้  สถานการณ์กอล์ฟ หลังโควิด-19 ทำให้มีจำนวนนักกอล์ฟเข้าสู่วงการมากขึ้น ถึง 150% ในประเทศอังกฤษ สาเหตุแรกคนหันมาสนใจในสุขภาพมากขึ้น และผมเชื่อมั่นว่ากีฬากอล์ฟจะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง และเราพยายามที่จะสร้างความสำเร็จจากกีฬากอล์ฟ”

ทางด้าน มร. ไทมัวร์ ฮัสซัน  ประธาน สมาพันธ์กอล์ฟแห่งเอเซีย-แปซิฟิก กล่าวว่า “ในปีนี้เรามีตัวแทนนักกอล์ฟสมัครเล่นสตรีจาก  21 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งมากกว่าปีที่แล้ว ซึ่งส่วนตัวขอขอบคุณ มร. มาร์ติน สลัมเบอร์  ประธานบริหาร และทีมงานที่จัดการแข่งขันรายการนี้ขึ้นมา เพื่อสนับสนุนและเปิดโอกาสให้นักกีฬาได้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการแข่งขันกอล์ฟที่มีระดับสูงยิ่งขึ้น และในปีนี้เรายินดีมีประเทศเข้าร่วมการแข่งขันมากขึ้นอีก 3 ประเทศคือ ประเทศปากีสถาน, มาเก๊า และประเทศเนปาล 

ฮัสซัน  กล่าวต่ออีกว่าสิ่งที่สำคัญของการแช่งขัน WAAP คือการให้โอกาสนักกอล์ฟสมัครเล่นสตรีใน 2 ระดับได้เข้าร่วมในการแข่งขันครั้ง เรามีอีกหลายการแข่งขัน และโอกาสอีกมากมายที่ทางสมาพันธ์จะมอบโอกาสในการแข่งขันนี้สำหรับมือสมัครเล่น ซึ่งเป็นก้าวย่างที่สำคัญที่นักกอล์ฟสมัครเล่นสตรีควรจะต้องได้เข้าแข่งขัน ก่อนการก้าวสู่การเป็นนักกอล์ฟอาชีพ”

สำหรับการแข่งขัน วีเมนส์ อเมเจอร์ เอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 4 ยังคงมอบโอกาสให้กับแชมป์ได้สิทธิ์ร่วมแข่งขันกอล์ฟเมเจอร์ 2 รายการ ได้แก่ เอไอจี วีเมนส์ โอเพ่น และ เอวิยอง แชมเปี้ยนชิพ รวมถึงได้สิทธิ์รับเชิญร่วมแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นหญิงรายการใหญ่อย่าง ออกัสต้า เนชั่นแนล วีเมนส์ อเมเจอร์ หรือ เอเอ็นดับเบิ้ลยูเอ และกอล์ฟเคแอลพีจีเอทัวร์รายการ ฮานา ไฟแนลเชียล กรุ๊ป แชมเปี้ยนชิพ

ไม่มีความคิดเห็น

รูปภาพธีมโดย graphixel. ขับเคลื่อนโดย Blogger.